วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ขั้นตอนที่ 4 การดำเนินการเพาะไรแดง







1. วิธีเพาะเลี้ยงไรแดงแบบเก็บเกี่ยวไม่ต่อเนื่อง
   1.1 ในบ่อซีเมนต์ขนาด 50 ตารางเมตร ซึ่งทำความสะอาดและตากบ่อทิ้งไว้แล้ว 1 วัน
   1.2 เปิดน้ำและกรองลงบ่อให้ได้ระดับความสูง 20 เซนติเมตรปริมาณน้ำ 10 ลูกบาศก์เมตร พร้อมทั้งละลายปุ๋ยและอาหารลงในบ่อโดยใช้สูตรใดสูตรหนึ่ง ดังนี้
   สูตรที่ 1 อามิ-อามิ 8 ลิตร ปุ๋ยนา (16-20-0) 1.2 กก. ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 1.2 กก. ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) 100 กรัม ปูนขาว 1 กก. กากถั่วเหลือง 1 กก.
   สูตรที่ 2 รำละเอียด 1 กก. ปลาป่น 0.5 กก. กากถั่วเหลือง 0.5 กก. ปุ๋ยนา (16-20-0) 1.2 กก. ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 1.2 กก. ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) 100 กรัม ปูนขาว 1 กก. (อาหารที่ใช้ควรหมักไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง อัตราส่วนที่ใช้หมักได้แก่ อาหาร 1 ส่วน : น้ำ 2 ส่วน : ปูนขาว 1 ส่วน)
   สูตรที่ 3 อามิ-อามิ 6 ลิตร กากถั่วเหลืองหมัก หรือรำละเอียดหมักหรือปลาป่นอย่างใดอย่างหนึ่ง 0.5 กก. ปุ๋ยนา (16-20-0) 1.2 กก. ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 1.2 กก. ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) 100 กรัม ปูนขาว 1 กก.
สูตรปุ๋ยและอาหารที่ใช้เพาะไรแดงทั้ง 3 สูตร ให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อบ่อประมาณ 13-15 กก.
   1.3 ทำการเติมน้ำเขียวลงในบ่อประมาณ 1 ตัว (1,000) ลิตร ทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน ในระหว่างนี้ควรเดินคนบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการตกตะกอน
   1.4 หลังจากน้ำเขียวเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ทำการแบ่งเชื้อน้ำเขียวไปลงบ่อเพาะใหม่จำนวน 1 ตัน หลังจากนั้นจึงนำพันธุ์ไรแดงที่มีความสมบูรณ์ใส่ลงไปจำนวน 2 กิโลกรัม และให้อากาศออกซิเจนในน้ำ ทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน ไรแดงจะขยายพันธุ์ขึ้นและสามารถเก็บเกี่ยวไรแดงได้ประมาณ 13-15 กิโลกรัม ใช้เวลาการเพาะเลี้ยงไรแดงประมาณ 5 วัน จะต้องมีบ่อซีเมนต์จำนวน 5 บ่อ จึงจะทำการเพาะไรแดงแบบไม่ต่อเนื่องได้ครบวงจร


2. วิธีเพาะเลี้ยงไรแดงแบบเก็บเกี่ยวต่อเนื่อง
   2.1 เมื่อดำเนินขั้นตอนตามวิธีการเพาะในแบบที่ 1 ถึงข้อ 1.4 ในการเก็บเกี่ยวไรแดงมาใช้เพียง ฝ ของไรแดงที่เกิดขึ้นในบ่อประมาณ 5-6 กิโลกรัม
   2.2 ลดระดับน้ำลงให้เหลือประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วทำการเติน้ำสะอาดและน้ำเขียวผสมอาหารและปุ๋ยอย่างละ 5 เซนติเมตร ทำเช่นนี้ทุกวันจนกว่าสภาวะแวดล้อมในบ่อไรแดงไม่เหมาะสมหรือผลผลิตต่อไรแดงลดลง จึงทำการล้างบ่อแล้วเริ่มทำการเพาะใหม่
   2.3 ผลผลิตไรแดงแบบการเพาะต่อเนื่อง จะสามารถเก็บเกี่ยวไรแดงได้ประมาณ 25 กิโลกรัม ระยะเวลาในการเพาะจนถึงเก็บเกี่ยวครั้งสุดท้ายรวม 12 วัน หลังจากนี้ควรล้างบ่อทำความสะอาดและเริ่มเพาะเลี้ยงใหม่
ปัญหาและวิธีแก้ไข
ปัญหาของบ่อผลิตไรแดง คือ ผลผลิตลดลง ซึ่งมีวิธีแก้ไข ดังนี้
1. เมื่อน้ำในบ่อผลิตมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างต่ำกว่า 6
   1.1 ใช้ปูนขาวละลายน้ำสาดทั่วบ่อ
   1.2 ใช้ปุ๋ยไนไตรเจนประเภทไนเตรต เช่น โซเดียมไนเตรต (16-0-0)
   1.3 ใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับหินฟอสเฟต
   1.4 ถ่ายน้ำออกครึ่งหนึ่งแล้วเติมน้ำใหม่
2. เมื่อน้ำในบ่อผลิตมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างสูงกว่า 10
   2.1 ใช้สารส้มละลายน้ำสาดทั่วบ่อ (วิธีนี้ทำให้ระยะเวลาเก็บเกี่ยวสั้นลงและน้ำเขียวอาจตกตะกอนได้)
   2.2 ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนประเภทแอมโมเนีย เช่น แอมโมเนียซัลเฟ
   2.3 ใช้ปุ๋ยคอก คือ มูลไก่ (วิธีนี้ทำให้ผลผลิตต่ำ และน้ำเสียเร็วขึ้น)
   2.4 ถ่ายน้ำออกครึ่งหนึ่งแล้วเติมน้ำใหม่
3. เมื่อปริมาณออกซิเจนต่ำ สังเกตจากไรแดงลอยตัวในตอนเช้าแต่ผลผลิตไรแดงต่ำลงในวันต่อมา หรือน้ำขุ่นเข้ม
   3.1 ถ่ายน้ำก้นบ่อออกครึ่งหนึ่งแล้วเติมน้ำใหม่
   3.2 เติมน้ำโดยยกปลายท่อให้สูงขึ้น
   3.3 กวนน้ำหรือตีน้ำกระจายสัมผัสกับอากาศ
   3.4 ใช้เครื่องปั๊มอากาศช่วยเพิ่มออกซิเจน
4. เมื่อมีศัตรูไรแดงในบ่อผลิต
   4.1 แมลง ใช้สวิงตาห่างสีฟ้าช้อนขึ้น
   4.2 ลูกปลา ลูกอ๊อด ลูกเขียด ใช้กากชา ความเข้มข้น 30 ส่วน ในล้านส่วน หรือ 30 กรัม ต่อปริมาณน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร
5. เมื่อน้ำในบ่อผลิตมีความเข้มข้นสูง สีเขียวข้น เนื่องจากมีอาหารมากเกินไป
   5.1 ถ่ายน้ำก้นบ่อออกครึ่งหนึ่ง แล้วเติมน้ำสะอาดลงไป
   5.2 ลดปริมาณอาหารที่ให้
6 เมื่อน้ำในบ่อผลิตใสจนเห็นก้นบ่อ เนื่องจากอาหารน้อยเกินไป
   6.1 เติมอาหรผสมทันที 20-40 % แล้วหมักอาหารผสมอีก 10-25% เติมในวันรุ่งขึ้นและวันต่อ ๆ ไป
   6.2 เติมน้ำเขียวประมาณ 5-10 เซนติเมตร
เทคนิคที่ควรทราบ
1. การเตรียมน้ำลงในบ่อเพาะไรแดง ควรกรองน้ำด้วยผ้ากรองทุกครั้ง เพื่อป้องกันสิ่งที่มีชีวิตเล็ก ๆ หรือศัตรูไรแดงในแหล่งน้ำที่อาจจะเข้ามาพร้อมกับน้ำที่ใช้
2. น้ำเขียวที่จะนำลงบ่อเพาะไรแดง ควรกรองด้วยถุงกรองแพลงก็ตอน เพื่อป้องกันสิ่งที่มีชีวิตเล็ก ๆ ติดมากับน้ำเขียว
3. แพลงก์ตอนสัตว์และพืชที่อยู่ในน้ำจืดชอบน้ำที่มีความเป็นด่างเล็กน้อย คือประมาณ 7.5-8.5 ฉะนั้นน้ำที่นำมาเลี้ยงเป็นกรดหรือเป็นกลางควรปรับให้เป็นด่าง
4. การเพาะไรแดงโดยการใช้ปุ๋ยมูลสัตว์หรืออาหารเม็ดเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้ผลผลิตไรแดงสูง อีกทั้งการเติมสารอาหารพวกอินทรีย์สารจะทำให้เกิดการเน่า น้ำเสียได้ง่ายและผลผลิตไรแดงจะไม่แน่นอน การเตรียมอาหารที่เหมาะสมและมีการเพาะน้ำเขียวนอกจากจะเป็นอาหารไรแดงแล้วยังช่วยรักษาระบบนิเวศวิทยาในการอยู่ร่วมกันของไรแดงทำให้เกิดผลผลิตไรแดงสูงได้
5. การเพาะไรแดง ปัจจัยที่คำนึงถึงปัจจัยแรกคืออาหาร (น้ำเขียว) ซึ่งนับว่าเป็นอาหารที่เหมาะสมต่อการใข้เลี้ยงไรแดง คงสภาพอยู่ได้นานไม่เน่าเสีย เจริญเติบโตได้รวดเร็วด้วยปุ๋ยชนิดต่างๆ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์จะทำให้น้ำเขียวมีการเจริญเติบโตได้ดีและคงสภาพอยู่ได้นาน
6. การเพิ่มระดับน้ำอาหารผสมและปุ๋ยก็จะเป็นปัจจัยหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตของไรแดง เนื่องจากการเพิ่มน้ำและปุ๋ยจะเป็นการเพิ่มปริมาณน้ำเขียวให้มากขึ้น ก็จะทำให้ไรแดงมีผลผลิตสูงขึ้น แต่การเพิ่มระดับน้ำสูงขึ้นจะทำให้เกิดการสังเคราะห์แสงของน้ำเขียวไม่ดีพอ และไรแดงขาดออกซิเจน จึงควรวางระบบท่อลมให้เพียงพอหรืออาจจะใช้เครื่องปั่นน้ำก็ได้
7. การใช้ออกซิเจน โดยทั่วไปสิ่งที่มีชีวิตจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในขบวนการสร้างพลังงาน ฉะนั้นในการเพิ่มออกซิเจนโดยใช้ปั๊มลมลงในบ่อเพาะเลี้ยงไรแดง นอกจากจะช่วยให้ไรแดงมีการขยายพันธุ์ได้รวดเร็วขึ้นแล้ว ยังทำให้บักเตรีที่อยูในบ่อทำการย่อยอินทรีย์สารได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยให้น้ำเขียวมีการเจริญเติบโตได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยป้องกันการตกตะกอนของน้ำเขียวได้ ดังนั้นในการเพิ่มออกซิเจนในบ่อเพาะเลี้ยงไรแดงก็จะมีส่วนให้ไรแดงมีผลผลิตสูงขึ้น
8. การหมุนเวียนน้ำ การหมุนเวียนน้ำก็เป็นปัจจัยอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการเพาะน้ำเขียวและไรแดงโดยตรง โดยจะช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจน และยังช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจน และยังช่วยไม่ให้น้ำเขียวตกตะกอนเกิดการสูญเสียเปล่า นอกจากนี้ยังช่วยให้ปุ๋ยที่ตกตะกอนทับถมกันอยู่กระจายฟุ้งขึ้นมา เพื่อเป็นประโยชน์โดยตรงต่อน้ำเขียวซึ่งจะมีผลทำให้ผลผลิตของไรแดงสูงขึ้น
9. แสงแดด แสงแดดนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด และควบคุมได้ยากมากที่สุด แสงแดดจะมีผลต่อปริมาณความหนาแน่นของน้ำเขียว และระยะเวลาที่ใช้ในการเพาะไรแดงโดยตรง ในการเพาะไรแดงถ้าทำการเพาะในช่วงที่มีแดดจัดจะทำให้ผลผลิตของไรแดงสูงขึ้น และใช้ระยะเวลาสั้นกว่าการเพาะในช่วงทีมีแดดไม่จัดหรือ ไม่มีแสงแดด
10. อุณหภูมิ อุณหภูมิจะเป็นปัจจัยธรรมชาติอีกปัจจัยหนึ่ง ซึ่งสามารถควบคุมได้ยาก จะมีผลต่อผลิตของไรแดงโดยเฉพาะเมื่ออุณหภูมิต่ำก็จะทำให้ผลผลิตของไรแดงต่ำ และเมื่ออุณหภูมิสูงถึงจุดที่เหมาะสมก็จะทำให้ผลผลิตของไรแดงสูงขึ้น ระยะเวลาในการเพาะไรแดงก็จะเร็วขึ้นด้วย ซึ่งจะทำให้การเพาะไรแดงใช้เวลาน้อยลงแต่ได้ผลผลิตสูงขึ้น
11. ศัตรูของไรแดงก็นับว่า เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะเป็นตัวกำหนดปริมาณของไรแดงในบ่อ โรติเฟอร์นับว่าเป็นศัตรูชนิดหนึ่งของไรแดงเพราะว่าโรติเฟอร์เป็นตัวแย่งกินอาหารของไรแดงและจะเข้าเกาะตามตัวของไรแดง จึงควรระมัดระวังทุกขั้นตอนในการป้องกันโรติเฟอร
บ่อดินที่จะใช้เพาะเลี้ยงไรแดง ควรมีขนาดประมาณ 200-800 ตารางเมตร โดยวิธีดำเนินการดังนี้
1. กำจัดสิ่งรกภายในบริเวณบ่อและศัตรูต่างๆ ของไรแดง ประมาณ 2 วัน
2. กรองน้ำลงบ่อให้มีระดับน้ำสูงจากพื้นบ่อประมาณ 25-40 เซนติเมตร พร้อมกับเติมปุ๋ยและอาหารลงไป
3. สูตรอาหารที่ใช้มีดังนี้
วัสดุบ่อ 200 ตรม.บ่อ 800 ตรม.
ปูนขาว15 กก.60 กก.
อาม-อามิ25 ลิตร100 ลิตร
ปู๋ย สูตร 16-20-02.5 กก.10 กก.
ยูเรีย1.2 กก.5 กก.
กากถั่วเหลือง2.5 กก.10 กก.

ถ้าไม่มีอามิ-อามิ ให้ใช้มูลไก่ประมาณ 80 กก./800 ตารางเมตร แล้วใส่น้ำเขียวประมาณ 2 ตัน ถ้าไม่มีน้ำเขียวก็หมักทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน
4. เมื่อน้ำในบ่อมีสีเขียวแล้วให้เติมเชื้อไรแดงอย่างดีประมาณ 2 กิโลกรัม
5. เริ่มเก็บเกี่ยวไรแดงได้ในวันที่ 4-7 จึงควรเก็บเกี่ยวไรแดงให้ได้มากที่สุด (ควรเก็บเกี่ยวในช่วงเช้าก่อนพระอาทิตย์จขึ้นจะเก็บเกี่ยวได้สะดวกและได้ปริมาณมาก) หลังจากนั้นไรแดงจะเริ่มลดน้อยลง จึงควรเติมอาหารลงไป อาหารที่ควรเติมในระยะนี้ควรจะเป็นพวกย่อยสลายเร็ว เช่น น้ำถั่วเหลือง น้ำเขียว รำ เลือดสัตว์ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์และปุ๋ยคอก เป็นต้น โดยเติมอาหารลดลงไปจากเดิมครึ่งหนึ่ง ไรแดงจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นอกภาพใน 2-3 วัน และจะกลับลดลงไปอีกก็ให้เติมอาหารลงไปเท่ากับครั้งที่ 2 ในกรณีนี้การเกิดไรแดงจะลดจำนวนลงมากถึงจะเติมอาหารลงไปอีก ไรแดงก็จะไม่เพิ่มปริมาณมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการใส่อาหารกับผลผลิตที่ได้และเวลาที่เสียไปเห็นว่าไม่คุ้มกับการลงปุ๋ยแล้วจึงควรเริ่มการเพาะเลี้ยงไรแดงใหม่ ซึ่งปกติแล้วเมื่อไรแดงไม่ได้ 15 วัน ก็จะเริ่มต้นใหม่
ราคาจำหน่าย
ไรแดงสดที่มีชีวิตจะมีราคาสูงกิโลกรัมละ 50-80 บาท ขึ้นกับฤดูกาลและไรแดงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมีปริมาณน้อยลง เนื่องจากแหล่งเกิดไรแดงตามธรรมชาติลดลง แต่ความต้องการไรแดงเพิ่มขึ้น คาดว่าการผลิตไรแดงเพื่อจำหน่ายจะเป็นอาชีพที่ทำรายได้ให้เกษตรกรอย่างมาก
ต้นทุนการผลิตไรแดงแบบไม่ต่อเนื่อง ในบ่อซีเมนต์ 50 ตรม.
ต้นทุนค่าปุ๋ย
1. กากผงชุรส ใช้บ่อละ 8 ลิตร ๆ ละ 35 สตางค์
เป็นเงิน 2.80 บาท
2. ปุ๋ยนา (16-20-0) ใช้บ่อละ 1.2 กก. ๆ ละ 5 บาท
เป็นเงิน 6 บาท
3. ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ใช้บ่อละ 1.2 กก. ๆ ละ 4 บาท
เป็นเงิน 4.80 บาท
4. ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) ใช้บ่อละ 0.100 กก. ๆ ละ 8 บาท
เป็นเงิน 0.80 บาท
5. ปูนขาว ใช้บ่อละ 1 กก. ๆ ละ 1 บาท
เป็นเงิน 1 บาท
6. กากถั่วเหลือง ใช้บ่อละ 1 กก. ๆ ละ 12 บาท
เป็นเงิน 12.00 บาท
รวมเป็นเงิน 27.40 บาท
ต้นทุนค่าไฟฟ้า
1. เครื่องปั๊มลมใช้มอเตอร์ 10 kw บ่อละ 6 บาทต่อวัน ระยะเวลา 2 วัน คิดเป็นเงิน 12 บาท
2. เครื่องสูบน้ำขนาด 2 นิ้ว ใช้ 1 ชั่วโมง คิดเป็นเงิน 2 บาท
ต้นทุนค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์
1. ค่าเสื่อมราคาบ่อซีเมนต์ 50 ตารางเมตร คิด 10 % ต่อปี ราคาก่อสร้างบ่อละ 30,000 บาท ระยะเวลาที่ใช้ 10 วัน คิดเป็นเงิน 82.19 บาท
2. ค่าเสื่อมราคาของเครื่องปั๊มลม 10% ต่อปี ราคาเครื่องละ 21,000 บาท ระยะเวลาที่ใช้ 2 วัน คิดเป็นเงิน 11.50 บาท
3. ค่าเสื่อมราคาเครื่องสูบน้ำขนาด 2 นิ้ว คิด 10 % ต่อปี ราคาเครื่องละ 7,000 บาท ระยะเวลาที่ใช้ 1 วัน คิดเป็นเงิน 1.92 บาท
4. ค่าเสื่อมราคาของปั๊มลม คิด 10% ต่อปี ราคาเครื่องละ 28,000 บาท ระยะเวลาที่ใช้ 10 วัน คิดเป็นเงิน 76.71 บาท
ต้นทุนค่าแรง
1. ค่าจ้างคนงานประจำ 3,000 บาท ต่อคนต่อเดือน ระยะเวลาทำงานเฉลี่ย 10 ชม. ๆ ละ 17 บาท คิดเป็นเงิน 170 บาท
ต้นทุนการผลินไรแดงต่อกิโลกรัม
= ค่าปุ๋ย+ค่าไฟฟ้า+ค่าเสื่อมราคา+ค่าแรงงาน
                ผลผลิตเฉลี่ย
= 301.01
     13
= 23.61
การนำไรแดงมาใช้ การนำไรแดงมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ไรแดงที่ได้จากบ่อผลิตในลักษณะนี้จะมีเชื้อโรคที่ทำอันตรายกับสัตว์น้ำน้อยกว่าไรแดงที่ไดจากแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่เพื่อความมั่นใจจึงควรล้างด้วยสารละลายด่างทับทิม 0.1 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ซึ่งจะได้สารละลายสีชมพูอ่อน สารละลายนี้จะเพิ่มออกซิเจนให้กับไรแดงและน้ำด้วยเพราะด่างทับทิมเมื่อละลายน้ำจะให้ออกซิเจนในน้ำ สำหรับปริมาณไรแดงที่ใช้ในการอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนให้ใช้ในปริมาณ 500-800 กรัม/ลูกปลาจำนวน 100,000 ตัว/วัน โดยแบ่งอาหารให้ 4-5 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 4-6 ชั่วโมง ระวังอย่าให้มีลูกไรเหลือลอยอยู่ตลอดเวลา เพราะลูกไรส่วนมากจะตาย หมักหมมอยู่บริเวณพื้นบ่อการอนุบาลลูกปลาดุกอุยตั้งแต่ไข่แดงยุบในระยะเวลา 2 สัปดาห์ จะได้ลูกปลาดุกอุยขนาดเฉลี่ย 2 เซนติเมตร ในการอนุบาลลูกปลาดุกอุย หรือ ปลาดุกเทศ อาจใช้อาหารสำเร็จรูปช่วยได้โดยเริ่มฝึกให้ลูกปลากินอาหารสำเร็จรูป เมื่อลูกปลามีอายุได้ 8-10 วัน โดยให้พร้อมกับไรแดง แล้วค่อย ๆ ลดปริมาณไรแดงลงและเพิ่มปริมาณอาหารสำเร็จรูป จนกระทั่งลูกปลาสามารถกินอาหารสำเร็จรูปได้ทั้งหมด
การลำเลียงขนส่งไรแดง
การขนส่งไรแดงนั้นควรลดกิจกรรมการดำเนินชีวิตของไรแดงโดยบรรจุไรแดงในอุณหภูมิต่ำเพื่อให้เกิดการใช้พลังงานต่าง ๆ ในตัวให้น้อยที่สุด ในระหว่างการลำเลียงนั้นควรให้อุณหภูมิภายในถุงเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้า ๆ ไม่รวดเร็วและช่วงกว้างของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิไม่มากนักจนเป็นอันตรายต่อไรแดง การขนส่งไรแดงที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันควรทำดังนี้
1. การขนส่งไรแดงโดยวิธีนำไรแดงแช่ในน้ำแข็งประมาณ 1-2 วินาทีเพื่อลดกิจกรรมและระบบการเผาผลาญพลังงานในตัวเอง แล้วรีบบรรจุในน้ำสะอาด และมีน้ำแข็งคลุมรอบนอกถุง เป็นวิธีที่ดีที่สุด
2. การขนส่งไรแดงในระยะทางใกล้ ๆ ซึ่งใช้ระยะเวลา 2-3 ชั่วโมง นั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ไรแดงแช่ในน้ำแข็ง แต่ควรนำไรแดงมาบรรจุในน้ำสะอาดแล้วอัดออกซิเจน คลุมน้ำแข็งรอบ ๆ แล้วขนส่งไรแดงในรถที่มีเครื่องปรับอากาศก็ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งมากยิ่งขึ้น ในกรณีที่ไม่สามารถหาน้ำแข็งได้ก็สามารถขนส่งในรถที่มีเครื่องปรับอากาศได้
3. การลำเลียงไรแดงในลักษณะแช่แข็งก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง เช่นเดียวกันโดยนำไรแดงไปแช่แข็งในตู้เย็นและให้ไรแดงแข็งโดยเร็ว เพื่อความสดวิธีนี้สามารถเก็บไว้ได้นานและยังสดอยู่เสมอ แต่ไรแดงที่ได้เป็นไรแดงที่ตายแล้ว สัตว์น้ำวัยอ่อนจะชอบกินไรแดงสดมากกว่าไรแดงที่แช่แข็ง การให้อาหารลูกปลาลูกกุ้งวัยอ่อนจึงควรให้ครั้งละน้อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเสียได้ง่า
การเก็บรักษาไรแดง
1. ใช้วิธีการเก็บโดยการแช่แข็ง วิธีนี้สามารถเก็บไว้ได้นานและยังสดอยู่เสมอ ส่วนมากเป็นไรแดงที่ตาย (โดยปกติสัตว์น้ำวัยอ่อนมักชอบกินไรแดงที่ยังมีชีวิตอยู่) ไรแดงที่เก็บโดยวิธีนี้ไม่สามารถนำไปใช้เป็นพันธุ์ในการผลิตต่อไป
2. วิธีการเก็บในอุณหภูมิต่ำประมาณ 10 องศาเซลเซียส โดยเติมน้ำลงไป 50 เปอร์เซ็นต์ จะอยู่ได้นาน 4 วัน ในภาชนะเปิดประมาณวันที่ 3 จะสังเกตเห็นไข่สีขาวขุ่นหรือสีชมพูซึ่งเป็นไรแดงชนิดที่จะต้องผสมพันธุ์กับเพศผู้ ซึ่งจะสร้างขึ้นเมื่อสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสม อุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ความเป็นกรดเป็นด่างต่ำกว่า 6 หรือสูงกว่า เป็นต้น






                        










อ้างอิงจาก http://www.doae.go.th/library/html/detail/rai_red/detail.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น